Aromatherapy Pure Essential Oil
สุคนธจิตศาสตร์
สุคนธบำบัด (Aromatherapy) คืออะไร?
ศาสตร์ของการใช้น้ำมันหอมระเหยทางการแพทย์มีมากกว่า 5,000 ปี โดยเริ่มจากสมัยอียิปต์ จีน และอินเดียพร้อมๆ กัน ในอียิปต์มีการใช้น้ำมันหอมระเหยเก่าแก่ คือ เมอร์ (Myrrh) และจูนิเปอร์ (Juniper) สำหรับรักษาสภาพศพ มีการใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อช่วยสมานแผล ใช้ในการนวด ใช้ทำน้ำหอม และใช้ประเทืองผิว สำหรับในอินเดียมีการใช้น้ำมันหอมระเหยในศาสตร์การแพทย์อายุรเวท เช่น น้ำมันไม้จันทน์ (Sandalwood oil) โดยคำว่า “Aromatherapy” ได้นิยามขึ้นภายหลังในปี 1928 โดยนักเคมีชาวฝรั่งเศสชื่อ Rene Maurice Gattefosse ได้ศึกษาผลของน้ำมันหอมระเหยด้วยตัวเอง โดยขณะทำงาน มือของเขาเกิดถูกไฟลวก ด้วยความตกใจ เขาจุ่มมือลงในถังบรรจุน้ำมันหอมระเหย lavender ที่อยู่ใกล้ตัว พบว่าอาการแสบร้อนลดลงอย่างรวดเร็ว และแผลสมานได้โดยไม่เกิดรอยแผลเป็น เขาแต่งตำราสุคนธบำบัดในปี ค.ศ. 1937 ชื่อ Aromathérapie: Les Huiles essentielles hormones végétales และถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษในภายหลัง ชื่อ Gattefossé’s Aromatherapy (Dwivedi et al., 2010)
สุคนธบำบัด (Aromatherapy) เป็นรูปแบบหนึ่งของการแพทย์เสริมและการแพทย์ทางเลือกที่กำลังได้รับความนิยม เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องการบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยโดยการใช้กลิ่นน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติ (essential oil) (Fradelos E. & Komini A., 2014)
น้ำมันหอมระเหยที่ใช้สำหรับสุคนธบำบัดมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยามากมาย เช่น ต้านเชื้อจุลินทรีย์ บรรเทาอาการปวดและอักเสบ ช่วยขับลม ช่วยกระตุ้นการย่อยอาหาร ขับเสมหะ ละลายเสมหะ ลดการคั่งของมูกเมือก และที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง มีการศึกษาในระดับคลินิกที่แสดงถึงประสิทธิภาพของสุคนธบำบัดต่อระบบประสาทส่วนกลาง พบว่าสุคนธบำบัดมีผลต่ออารมณ์ การรับรู้ การทำงานของร่างกาย และพฤติกรรม สามารถคลายความเครียดได้ในระยะสั้น ๆ มีประสิทธิผลชัดเจนทั้งคลายความวิตกกังวลและแก้ซึมเศร้า สามารถใช้เป็นทางเลือกในการรักษาภาวะที่มีความวิตกกังวลและซึมเศร้า และมีประสิทธิภาพช่วยในการนอนหลับ (อุทัย โสธนะพันธุ์, 2559)
ความเป็นมาของสุคนธจิตศาสตร์
คำว่า “Aromachology” นิยามขึ้นภายหลังในปี 1982 โดย Sense of Smell Institute (SSI) ประเทศสหรัฐอเมริกา (Mitch Medical Healthcare, 2021) มาจากคำว่า “Aroma” ซึ่งหมายถึงกลิ่น รวมกับคำว่า “Psychology” ซึ่งหมายถึงจิตวิทยา รองศาสตราจารย์ ดร. ไชยวัฒน์ ไชยสุต หัวหน้าศูนย์นวัตกรรมสุขภาพองค์รวม โภชนเภสัชภัณฑ์ และเวชสำอาง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้บัญญัติคำว่า “สุคนธจิตศาสตร์” ขึ้น ซึ่งหมายถึงศาสตร์ที่ศึกษาอิทธิพลของกลิ่นต่ออารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรม โดยจะครอบคลุมทั้งกลิ่นน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติและกลิ่นสังเคราะห์ และเน้นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต่อการปรับเปลี่ยนอารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรมเป็นหลัก และวัตถุประสงค์ต่อการบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยเป็นรอง (ดัดแปลงจาก Karol Čarnogurský, Anna Diačiková & Peter Madzík, 2020)
สุคนธจิตศาสตร์ (Aromachology) ใช้ในสถานการณ์ใดได้บ้าง?
ㅤㅤในหลาย ๆ สถานที่จึงใช้กลิ่นเพื่อชักนำผู้คนให้รู้สึกคล้อยตามทางอารมณ์ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ เช่น ในสถานประกอบธุรกิจ มีการใช้กลิ่นเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์และสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้าหรือผู้มาใช้บริการ ในร้านค้าก็มีการใช้กลิ่นที่เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้ามีความอยากที่จะซื้อสินค้าภายในร้านมากขึ้น รวมไปถึงในสถานพยาบาลเองก็มีการใช้กลิ่นที่ให้ความรู้สึกสงบ สะอาด ทำให้ผู้มาใช้บริการไม่รู้สึกฉุนเฉียว ประหม่า วิตกกังวล หรือรู้สึกไม่ปลอดภัยขณะรอปรึกษาปัญหาสุขภาพกับบุคลากรทางการแพทย์ (Karol Čarnogurský, Anna Diačiková & Peter Madzík, 2020)
ㅤㅤGuéguen และ Petr ได้ทำการศึกษาผลของน้ำมันหอมระเหย lavender และ lemon ต่อพฤติกรรมของลูกค้าในร้านพิซซ่าจำนวน 88 คน พบว่าการเติมกลิ่น lavender ภายในร้านสามารถเพิ่มระยะเวลาที่ลูกค้านั่งภายในร้านและเพิ่มจำนวนการสั่งอาหารมากขึ้น โดยอาจเกี่ยวข้องกับฤทธิ์ที่ทำให้ผ่อนคลายของกลิ่น lavender เปรียบเทียบกับกลิ่น lemon ที่ไม่ให้ผลดังกล่าว (Guéguen N. & Petr C., 2006)
ㅤㅤบริษัท Beiersdorf ประเทศเยอรมณี ได้ทดลองครั้งแรกโดยมีการเติมกลิ่นของผลิตภัณฑ์เข้าไปในระหว่างที่ฉายโฆษณา “NIVEA sun cream” โดยกระจายกลิ่นผ่านเครื่องปรับอากาศภายในโรงภาพยนตร์ ผลที่ได้คือผลิตภัณฑ์ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น 515% เมื่อเปรียบเทียบกับการโฆษณาที่ไม่มีการเติมกลิ่น (Karol Čarnogurský, Anna Diačiková & Peter Madzík, 2020)
ㅤㅤในปี 2012 บริษัท Dunkin’ Donuts ต้องการเจาะตลาดกาแฟในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่ผู้คนค่อนข้างเร่งรีบ และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีชั่วโมงทำงานรายปีสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ผู้คนนิยมใช้รถขนส่งสาธารณะในการเดินทางเป็นส่วนใหญ่ บริษัทจึงอาศัยช่องทางนี้โดยทำการเติมกลิ่นผลิตภัณฑ์เข้าไประหว่างการโฆษณาทางวิทยุในรถขนส่งสาธารณะ พบว่าผู้ใช้บริการมากกว่า 350,000 คนมาจากการโฆษณาดังกล่าว ผู้คนมาใช้บริการที่ร้านเพิ่มขึ้น 16% และมียอดขายเพิ่มขึ้น 29% (Pavle Marinkovic, 2020)
สุคนธจิตศาสตร์ (Aromachology) ต่างจาก สุคนธบำบัด (Aromatherapy) อย่างไร?
– สุคนธจิตศาสตร์เป็นศาสตร์ที่จำเพาะไปที่อิทธิพลของกลิ่นต่ออารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรม ในขณะที่สุคนธบำบัดเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องการบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยทั้งทางร่างกาย และจิตใจ แต่จะมุ่งเน้นไปที่การรักษาอาการเจ็บป่วยทางกาย เช่น ต้านเชื้อจุลินทรีย์ บรรเทาอาการปวดและอักเสบ ช่วยกระตุ้นการย่อยอาหาร และขับเสมหะ เป็นต้น
– สุคนธจิตศาสตร์ครอบคลุมทั้งกลิ่นน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติและกลิ่นสังเคราะห์ ในขณะที่สุคนธบำบัดใช้กลิ่นน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติเท่านั้น
– สุคนธจิตศาสตร์เน้นการใช้กลิ่นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านการปรับเปลี่ยนอารมณ์ และพฤติกรรม เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อกับผลิตภัณฑ์ได้โดยง่าย เป็นการสร้างประสบการณ์และความประทับใจต่อผลิตภัณฑ์ ในขณะที่สุคนธบำบัดเน้นการใช้กลิ่นเพื่อบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วย
HERBAREZ
VIGORIZ
PHYTOSENZ
ตำรับ PHYTOSENZ
สารสกัด : ป่าสนอินทรีย์
องค์ประกอบทางเคมี : monoterpene alcohol
ประโยชน์ : ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย คลายเครียด จิตใจสงบนิ่ง
ตำรับ VIGORIZ
สารสกัด : ตะไคร้ภูเขา
องค์ประกอบทางเคมี : citral , limonene
ประโยชน์ : ช่วยทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า มีพลังงาน สดชื่น สดใส
ตำรับ HERBAREZ
สารสกัด : ว่านสาวหลง
องค์ประกอบทางเคมี : monoterpene ketone , camphor , limonene
ประโยชน์ : ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดความกังวล เพิ่มประสิทธิภาพการนอน
สูตรใหม่ DAWNEASE , DREAMEASE , VIGOREASE , STRESSEASE และ RELAXEASE ราคาประหยัดขึ้น
✽ลูกค้า Aromasenz สามารถศึกษาได้เพิ่มเติมจาก e-book✽
✽หากท่านใดต้องการทำแบบประเมินอารมณ์เพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าไปทำแบบทดสอบได้ที่✽
ผู้ผลิต
บริษัท ออร์แกนิกไวต้า จำกัด 292 หมู่ 2 ต.สันผักหวาน อ.หางดง จ. เชียงใหม่ 50230
ผู้จัดจำหน่าย
บริษัท ฟาร์มาไบโอติก จำกัด 8 หมู่ 15 ต.สุเทพ อ.เมือง จ. เชียงใหม่ 50200
CONTACT
Email : aromasenz@gmail.com
Line : @aromasenz